“ลุกก็โอย นั่งก็โอย” 😫เรามักจะได้ยินคำพูดนี้จากผู้สูงอายุอยู่บ่อย ๆ กันใช่ไหมคะ แต่ใครจะไปคิดว่าวัย สาว ๆ ที่อายุแตะเลข 3 เลข 4 ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน เพราะเราเริ่มมีอาการของโรคที่เรียกว่าข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยนั่นเอง
รู้จักโรคข้อเข่าเสื่อม ⚠️
โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการใช้งานข้อต่อเนื่องยาวนานจนทำให้กระดูกอ่อน ผิวข้อสึกกร่อน ทำให้มีอาการปวดข้อขณะเคลื่อนไหว และสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมในปัจจุบัน
จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของพวกเรานี่ละค่ะ มาดูว่าพฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงให้เป็นข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย
▪️ชอบนั่งงอเข่ามากกว่า 90 องศา เช่น การนั่งขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งยองๆ ท่านั่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มแรงอัดให้เกิดขึ้นภายในข้อเข่า
▪️ ชอบคลานเข่าหรือคุกเข่าเป็นเวลานาน ทำให้ลูกสะบ้าบริเวณเข่าและกระดูกต้นขาต้องรับน้ำหนักทั้งตัว ทำให้เกิดอาการเอ็นอักเสบได้ และเมื่อได้รับการกดทับบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิด “กระดูกงอก” ขึ้นได้
▪️ ชอบใส่รองเท้าส้นสูง ทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อเข่ามากกว่าปกติ รวมทั้งยังทำร้ายข้อตรงโคนนิ้วหัวแม่เท้าได้อีกด้วย
▪️ ชอบเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยครั้ง แม้การเดินขึ้น-ลงบันไดจะเป็นการช่วยเผาผลาญ แต่ในทุกๆ ครั้งข้อเข่าและข้อเท้าของเราจะได้รับผลกระทบจากแรงต้านทาน ซึ่งทำให้ต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติถึง 3-4 เท่า
▪️ น้ำหนักตัวมากเกิน ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลาที่เราใช้งานข้อ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน หรือขึ้น-ลงบันได
▪️ ถือของหนักหรือสะพายกระเป๋าหนักๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อข้อเข่า รวมไปถึงข้อมือ ข้อไหล่ และหมอนรองกระดูกสันหลังได้
▪️ บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา เนื่องจากการใช้งานข้อบ่อยจนล้า ทำให้ข้อเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย และการ(เคย)บาดเจ็บนี้จะส่งผลให้ผิวข้อสึกหรอและข้อเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น
สังเกตอาการ
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมที่สังเกตได้ คือมักจะมีอาการปวดเข่า และจะยิ่งมีอาการปวดมากขึ้นหลังจากนั่งเป็นเวลานานๆ อาการจะดีขึ้นหลังจากได้พัก และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกตึงที่บริเวณน่อง เมื่อยน่อง เข่าบวม รู้สึกข้อฝืดขณะเคลื่อนไหว บางครั้งรู้สึกเจ็บ มีการเสียดสีในข้อ เวลางอเข่าก็งอได้ไม่สุดเหมือนเคยค่ะ
เคล็ดลับชะลอข้อเข่าเสื่อม
1. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
2. ลดพฤติกรรมที่ทำร้ายข้อเข่า เช่น เลี่ยงการนั่งที่ต้องงอเข่ามากกว่า 90 องศา การใช้ห้องน้ำแบบนั่งยองๆ และเดินขึ้น-ลงบันไดเท่าที่จำเป็น เป็นต้น
3. เลือกวิธีการออกกำลังกายที่ช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้ เช่น การเดิน การออกกำลังกายในน้ำ
4. หากมีการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเพื่อลดแรงกระทำต่อข้อ
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมอาการ และบรรเทาอาการของโรคให้มากที่สุด ดังนั้นควรเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายข้อเข่าเพื่อให้หัวเข่าใช้งานอยู่กับเราไปได้นานๆ
#emoo #emoosocks #socks #bamboo #seamless #ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย #นั่งขัดสมาธิ #พับเพียบ #นั่งยองๆ #คุกเข่า #ใส่รองเท้าส้นสูง #ขึ้นลงบันได #น้ำหนักตัวมากเกิน #ปวดเข่า #เมื่อยน่อง #เข่าบวม #ออกกำลังกาย
ข้อมูลอ้างอิง :
phyathai.com
si.mahidol.ac.th
Comments