หน้าฝนเช่นนี้ เท้าของเราก็มีโอกาสต้องลุยน้ำ หรืออับชื้นมากขึ้น โรคที่พบบ่อยๆ เช่นเชื้อราที่เท้า อย่างโรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต ที่หากไม่ดูแลก็อาจกลายเป็นการติดเชื้อร้ายแรงได้
🔶โรคน้ำกัดเท้า...โรคประจำหน้าฝน
โรคน้ำกัดเท้า มักมีสาเหตุจากเท้ามีการอับชื้น โดยเฉพาะง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก ทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อน และมีการเปื่อยและหลุดออกเป็นอาหารอย่างดีของเชื้อรา เท้าจึงกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อราที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งทำให้มีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกออกเป็นขุยๆ และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้ หรือสำหรับบางคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หากเป็นโรคน้ำกัดเท้าอาจทำให้เยื่อผิวหนังอักเสบ อาจส่งผลต่อโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ได้
🔶ดูแลได้ไม่ยาก
การดูแลเท้าเมื่อเกิดโรคนั้น ควรล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะตามซอกเท้า หลังจากนั้นใช้ครีมกันเชื้อราหรือโรยแป้งฝุ่นที่เท้า แล้วควรเปลี่ยนถุงเท้าบ่อย ในช่วงหน้าฝนเช่นนี้ อาจเตรียมถุงเท้าไปไว้คอยเปลี่ยนด้วยค่ะ
สำหรับคนที่มีเป็นโรคเบาหวาน หากเป็นโรคน้ำกัดเท้าด้วย ก็ควรดูแลเท้าให้แห้งสะอาดเป็นพิเศษ และห้ามเดินเท้าเปล่าเด็ดขาด มิฉะนั้นโรคอาจลุกลามแล้วเป็นอันตรายได้
🔶ดูแลความสะอาด ถุงเท้า&รองเท้าช่วงหน้าฝน
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคน้ำกัดเท้าพบได้บนพื้น ในรองเท้า และเสื้อผ้า การสวมรองเท้าที่ระบายอากาศไม่ดีและถุงเท้าเปียกเหงื่อจะส่งเสริมให้เป็นโรคได้ง่าย ดังนั้นในหน้าฝนอย่างนี้ก็ต้องดูแลความสะอาดของรองเท้าเป็นพิเศษ
✅ควรรีบถอดรองเท้าทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน ล้างเท้าด้วยสบู่และเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอก นิ้วเท้า เพื่อป้องกันโรคน้ำกัดเท้า โรคเท้าเหม็น
✅รองเท้าที่เปียกควรซักทำความสะอาดทันที หรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบสกปรกจากน้ำฝนและ ดินโคลน แล้วนำไปผึ่งโดยพิงรองเท้าในแนวเฉียงเข้ากับผนังจนแห้ง
✅ไม่ควรใส่รองเท้าคู่เดิมซ้ำกันหลายๆ วัน เพื่อให้รองเท้าได้ระบายอากาศ ลดความอับชื้น หรืออาจ เตรียมรองเท้าที่ใส่เดินลุยน้ำได้สำรองติดไว้ เพื่อเปลี่ยนในเวลาที่ต้องเดินลุยน้ำ
✅ที่สำคัญควรเปลี่ยนถุงเท้าบ่อยๆ ไม่ควรใส่ถุงเท้าที่อับชื้น และการเลือกถุงเท้าที่ดีก็ช่วยได้ค่ะ โดย เลือกถุงเท้าที่ใช้เส้นใยเยื่อไผ่ จะมีคุณสมบัติลดแบคทีเรียกลิ่นอับ และแห้งเร็ว
#emoo #emoosocks #socks #bamboo #อีมู #season #rain #หน้าฝน #อับชื้น #โรคน้ำกัดเท้า #ผิวหนังอักเสบ #เชื้อรา #ซอกนิ้วเท้า #โรคเบาหวาน #ล้างเท้าให้สะอาด #เช็ดให้แห้ง #โรคเท้าเหม็น #ระบายอากาศ
ข้อมูลอ้างอิง :
rama.mahidol.ac.th กรมอนามัย
Comentários